คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ  (เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2561)     

บทความในวารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์จำแนกได้ 3 ประเภท คือ บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) และบทความปริทัศน์ (review article)      บทความที่เสนอจะต้องพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามรูปแบบที่กำหนด (สามารถ download ไฟล์ต้นแบบได้จากเว็บไซต์ของวารสาร) โดยบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร “Angsana New” ในการพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร “Tahoma” บทความวิจัยภาษาไทยจะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ชื่อเรื่องภาษาไทย ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สถานที่ทำงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีเมลของผู้เขียนบทความหลัก บทคัดย่อภาษาไทย คำสำคัญภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาอังกฤษ เนื้อความหลัก (เช่น บทนำ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง ผลการทดลอง วิจารณ์ผลการทดลอง และสรุปผลการทดลอง) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ซึ่งแต่ละหัวข้อจะแยกบรรทัดกัน บทความวิชาการมีส่วนประกอบต่างๆ เหมือนบทความวิจัย ยกเว้นเนื้อความหลักที่อาจจะประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา และสรุป  บทความภาษาอังกฤษไม่ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญภาษาไทย การใช้คำศัพท์ผู้เขียนควรใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน และหากผู้เขียนประสงค์ที่จะเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษในวงเล็บหลังคำศัพท์ภาษาไทยจะต้องใช้ตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ยกเว้นคำศัพท์นั้นเป็นชื่อเฉพาะ สล็อตเว็บตรง เช่น แร่ (mineral), เครื่องนับเม็ดเลือด (haemocytometer), ชุดแบบอักษรเฉพาะคราว (soft font) และ วิธีนิวตัน-ราฟสัน (Newton-Raphson method) เป็นต้น ผู้เขียนบทความสามารถดาวน์โหลดเทมเพล็ตได้ที่ http://www.journal.sci.kmutnb.ac.th

1. รายละเอียดของบทความ

1.1  บทความวิจัยภาษาไทย

การพิมพ์ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้อักษรแบบหนา ขนาด 24 พอยต์ ให้วางตำแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ โดยเริ่มจากชื่อเรื่องภาษาไทย ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษมีอักษรตัวแรกเท่านั้นที่ต้องเป็นตัวใหญ่ ชื่อ-นามสกุล ผู้เขียนและผู้ร่วมงาน เว็บตรง (ถ้ามี) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้อักษรแบบหนา ขนาด 14 พอยต์ ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการหรือสถานะของนิสิตนักศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น (หากสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้ร่วมงานต่างกัน ให้พิมพ์หมายเลขต่างกันเป็นตัวยก ต่อท้ายแต่ละชื่อ) สถานที่ทำงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 12 พอยต์ (หากสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้ร่วมงานต่างกัน ให้พิมพ์หมายเลขเป็นตัวยก นำหน้าสถานที่ทำงานซึ่งต่างกัน) อีเมลของผู้เขียนบทความหลักหรือผู้ให้ติดต่อใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 12 พอยต์ (ให้ใช้สัญลักษณ์ * ต่อท้ายหมายเลขระบุสถานที่ทำงานและนำหน้าคำว่า E-mail) บทคัดย่อและคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อความหลัก กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 14 พอยต์ โดยบรรทัดแรกให้เยื้องเข้ามา 1.27 ซม. เอกสารอ้างอิงใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 14 พอยต์  เฉพาะหัวข้อใช้อักษรแบบหนา ขนาด 14 พอยต์ หัวข้อย่อย (ถ้ามี) ไม่มีการเยื้อง พิมพ์ตัวเลขหัวข้อย่อยตามลำดับ ใช้อักษรแบบหนา ตัวเอียง ขนาด 14 พอยต์ และให้ผู้เขียนบทความจัดเนื้อเรื่องในแต่ละบรรทัดเรียงชิดด้านซ้ายและขวาอย่างสวยงาม และเว้น 1 บรรทัด เมื่อขึ้นหน้าใหม่ 

การพิมพ์ตัวเลขในบทความให้ใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษในการพิมพ์เพราะจะได้ตัวเลขที่มีขนาดใหญ่กว่าการใช้แป้นพิมพ์ภาษาไทย เช่น 120 วัน (ใช้แป้นพิมพ์ภาษาไทย) กับ 120 วัน (ใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ) เป็นต้น

1.2  บทความวิจัยภาษาอังกฤษ

การพิมพ์ชื่อเรื่องใช้อักษรแบบหนา ขนาด 14 พอยต์ ให้วางตำแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ โดยเริ่มจากชื่อเรื่องซึ่งเฉพาะอักษรตัวแรกเท่านั้นที่ต้องเป็นตัวใหญ่  ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนและผู้ร่วมงาน (ถ้ามี) ให้เขียนตัวเต็ม ไม่ใช้ตัวย่อ ใช้อักษรแบบหนา ขนาด 10 พอยต์ ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการหรือสถานะของนิสิตนักศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น (หากสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้ร่วมงานต่างกัน ให้พิมพ์หมายเลขต่างกันเป็นตัวยก ต่อท้ายแต่ละชื่อ) สถานที่ทำงานใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 8 พอยต์ (หากสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้ร่วมงานต่างกัน ให้พิมพ์หมายเลขเป็นตัวยก นำหน้าสถานที่ทำงานซึ่งต่างกัน) อีเมลของผู้เขียนบทความหลักหรือผู้ให้ติดต่อใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 8 พอยต์ (ให้ใช้สัญลักษณ์ * ต่อท้ายหมายเลขระบุสถานที่ทำงานและนำหน้าคำว่า เว็บสล็อต E-mail) บทคัดย่อและคำสำคัญ เนื้อความหลัก กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 10 พอยต์ โดยบรรทัดแรกให้เยื้องเข้ามา 1.27 ซม. เอกสารอ้างอิงใช้อักษรแบบปกติ ขนาด 10 พอยต์  เฉพาะหัวข้อใช้อักษรแบบหนา ขนาด 10 พอยต์ หัวข้อย่อย (ถ้ามี) ไม่มีการเยื้อง พิมพ์ตัวเลขหัวข้อย่อยตามลำดับ ใช้อักษรแบบหนา ตัวเอียง ขนาด 10 พอยต์ และให้ผู้เขียนบทความจัดเนื้อเรื่องในแต่ละบรรทัดเรียงชิดด้านซ้ายและขวาอย่างสวยงาม

1.3  บทความวิชาการและบทความปริทัศน์ภาษาไทย

การพิมพ์ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมงาน (ถ้ามี)  สถานที่ทำงาน  อีเมลของผู้เขียนบทความหลักหรือผู้ให้ติดต่อ บทคัดย่อและคำสำคัญ เนื้อความหลัก กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ให้ใช้เกณฑ์เดียวกันกับการเขียนบทความวิจัยภาษาไทย โดยเนื้อความหลักไม่ได้แยกเป็น บทนำ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง ผลการทดลอง วิจารณ์ผลการทดลอง และสรุปผลการทดลอง แต่อาจจะประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิง โดยทั่วไปบทความวิชาการและบทความปริทัศน์ควรมีจำนวนหน้าไม่เกิน 16 หน้า

1.4  บทความวิชาการและบทความปริทัศน์ภาษาอังกฤษ

การพิมพ์ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมงาน (ถ้ามี)  สถานที่ทำงาน  อีเมลของผู้เขียนบทความหลักหรือผู้ให้ติดต่อ บทคัดย่อและคำสำคัญ เนื้อความหลัก กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ให้ใช้เกณฑ์เดียวกันกับการเขียนบทความวิจัยภาษาอังกฤษ โดยเนื้อความหลักไม่ได้แยกเป็น บทนำ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง ผลการทดลอง วิจารณ์ผลการทดลอง และสรุปผลการทดลอง แต่อาจจะประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิง โดยทั่วไปบทความวิชาการและบทความปริทัศน์ควรมีจำนวนหน้าไม่เกิน 16 หน้า

2. รูป ตาราง และสมการ ในบทความ

2.1 การจัดทำรูป

ตัวอักษรทั้งหมดในรูปจะต้องมีขนาดใหญ่สามารถอ่านได้สะดวก และต้องไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง รูปทุกรูปจะต้องมีหมายเลขกำกับโดยใช้อักษรแบบหนา เช่น รูปที่ 1. หรือ Figure 1. คำบรรยายใต้รูปใช้อักษร

 

แบบปกติ รูปลายเส้นจะต้องเป็นเส้นหมึกดำที่มีความคมชัด ส่วนรูปถ่ายเป็นรูปสีหรือขาวดำที่มีความคมชัดและมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 800 dpi ให้เว้นบรรทัดเหนือรูป 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้คำบรรยายรูป 1 บรรทัด

2.2 การจัดทำตาราง

ถ้าไม่มีความจำเป็น ตัวอักษรในตารางควรจะต้องไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง และควรตีเส้นตารางด้วยหมึกดำให้ชัดเจน เส้นของตารางจะใช้เส้นเฉพาะในแนวนอนเท่านั้น ตารางทุกตารางจะต้องมีหมายเลขกำกับเหนือตารางโดยใช้อักษรแบบหนา เช่น ตารางที่ 1. หรือ Table 1. คำบรรยายเหนือตารางใช้อักษรแบบปกติ ให้เว้นบรรทัดเหนือคำบรรยายตาราง 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้ตาราง 1 บรรทัด

2.3 การเขียนสมการ

สมการทุกสมการจะต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บและเรียงลำดับที่ถูกต้อง จัดสมการให้อยู่ตรงกลางคอลัมน์ และตำแหน่งของหมายเลขสมการจะต้องอยู่ชิดขอบด้านขวาของคอลัมน์ ให้เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนเขียนสมการและเว้นหนึ่งบรรทัดหลังเขียนสมการ

 

3. การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

3.1 การอ้างอิง

การอ้างอิงในบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ระบบนาม-ปี เป็นภาษาอังกฤษ ตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association) และเพื่อเป็นการรักษามาตรฐานของวารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการนำเอา เอกสารจากงานประชุม (proceedings) คู่มือ (handbook) รายงาน (report) วิทยานิพนธ์ (thesis) เว็บไซต์ (website) หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและกลั่นกรองจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้น  ๆ มาใช้ในการอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีผู้เขียนคนเดียว ใช้นามสกุลผู้แต่งและปี ค.ศ. เช่น Sookdee (2017) หรือ (Sookdee, 2017) กรณีผู้เขียนสองคน ใช้  “&” คั่นนามสกุลผู้แต่งคนแรก เช่น Sookdee & Sooksan (2017) หรือ (Sookdee & Sooksan, 2017) กรณีผู้เขียนมากกว่าสองคน ใช้  “et al.” ต่อจากนามสกุลผู้แต่งคนแรก เช่น Sookdee et al. (2017) หรือ (Sookdee et al., 2017) กรณีอ้างอิงจากหลายแหล่งอ้างอิงใช้ “ ; ” คั่นระหว่างแหล่งอ้างอิง เช่น บาคาร่า (Sookdee, 2015; Sookdee & Sooksan, 2016; Sookdee et al., 2017)

3.2 เอกสารอ้างอิง

การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบของ APA (American Psychological Association) และเพื่อเป็นการรักษามาตรฐานของวารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการนำเอา เอกสารจากงานประชุม (proceedings) คู่มือ (handbook) รายงาน (report) วิทยานิพนธ์ (thesis) เว็บไซต์ (website) หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและกลั่นกรองจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้น ๆ มาใช้ในการเขียนเอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิงให้พิมพ์ตามลำดับตัวอักษรชิดขอบซ้ายและให้ตรงกันทุกเอกสาร  หากเอกสารอ้างอิงมีความยาวเกินหนึ่งบรรทัด บรรทัดถัดไปให้เยื้องเข้ามา 1.27 ซม. ตัวอย่างรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้

วารสาร (journal) (วารสารที่อ้างอิงจะต้องไม่มีชื่ออยู่ใน Beall’s list of predatory publishers)

ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า. doi หรือ URL ของ doi (ถ้ามี)

โดยชื่อวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ใช้ชื่อเต็ม

ตัวอย่าง

Smile, A. A., Smell, B. B. & Small, C. C. (2016). Effect of UV-D on some elements under the sea. The Journal of Applied Science, 12(4), 1-12. http://dx.doi.org/1234/2016/001

Sookdee, A., Sooksan, B. & Sooksom, C. (2017). Chemical analysis for plant cells. Current Topic Journal, 56(3), 21-36. doi: 1234/j.curr.2014.01.001 (in Thai)

กรณีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใช้  “et al.” ต่อจากชื่อผู้แต่งคนที่ 6 ยกเว้นถ้ามีผู้แต่ง 6 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้ง 6 คน

 

ในกรณีที่เป็นวารสารแบบ Open Access ซึ่งไม่มี ปีที่ ฉบับที่ และเลขหน้า มีรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงคือ

ผู้แต่ง. (ปี) ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, เลขบทความ, จำนวนหน้า. Doi หรือ URL ของ doi (แต่ถ้ามี ปีที่ ฉบับที่ ให้ใส่มาด้วย)

ตัวอย่าง

Smile, A. A., Smell, B. B. & Small, C. C. (2016). Effect of UV-D on some elements under the sea. Journal of Open Access, 12(4), 6 pp. doi: 1234/j.opace.2016.01.001

Sookdee, A., Sooksan, B. & Sooksom, C. (2017). Chemical analysis for plant cells. Current Topic Journal, Article ID 1234, 12 pp. http://dx.doi.org/1234/2017/001 (in Thai)

หนังสือ (book)

ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Smile, A. A., Smell, B. B. & Small, C. C. (2016). Flowering and Non-flowering Plants (2nd ed.). Bangkok, Thailand: ABAB Publisher.

กรณีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใช้   “et al.” ต่อจากชื่อผู้แต่งคนที่ 6 ยกเว้นถ้ามีผู้แต่ง 6 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้ง 6 คน

บทในหนังสือ (book chapter)

ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์) เลขหน้า. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Smile, A. A., Smell, B. B. & Small, C. C. (2016). Chemical analysis for plant cells. In D. D. Smart & E. E. Smooth (Eds.), Flowering and Non-flowering Plants (2nd ed.) pp. 39-72. Bangkok, Thailand: ABAB Publisher.

กรณีผู้เขียน 6 คน หรือมากกว่า 6 คน ให้ยึดแนวทางตามแบบที่กล่าวไว้ในหนังสือ

เอกสารจากงานประชุม (proceedings) (ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการนำเอาเอกสารจากงานประชุมมาใช้ในการอ้างอิง)

ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. เลขหน้า. ใน ชื่องานประชุม, วัน เดือน ปี ที่จัดการประชุม, สถานที่จัดการประชุม.

ตัวอย่าง

Smile, A. A., Smell, B. B. & Small, C. C. (2016).  Chemical analysis for plant cells. pp. 39-72. In The 1st Applied Science Conference, 1-7 August 2014, Faculty of Applied Science,    King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Bangkok.

 

วิทยานิพนธ์ (thesis) (ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการนำเอาวิทยานิพนธ์มาใช้ในการอ้างอิง)

ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อวิทยานิพนธ์ (ระดับปริญญา) สาขาวิชาหรือภาควิชา, คณะ, มหาวิทยาลัย, สถานที่.

ตัวอย่าง

Sookdee, A. (2017). Chemical analysis for plant cells (Ph.D. thesis) Department of Applied Biology, Faculty of Applied Science, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Bangkok. (in Thai)

 

เว็บไซต์ (website) (ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการนำเอาเว็บไซต์มาใช้ในการอ้างอิง)

ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น, ที่มา ชื่อ URL

ตัวอย่าง

Smile, A. A., Smell, B. B. & Small, C. C. (2016). Chemical analysis for plant cells. Retrieved  January 1, 2015, from http://www.journal.sci.kmutnb.ac.th